” เด็กโกหก ” พฤติกรรมไม่พึงปรารถนาที่พ่อแม่สอนได้

เด็กโกหก สำหรับเด็กแล้วถึงตัวเล็กแต่หัวจิตหัวใจของเด็กไม่ได้แตกต่างจากผู้ใหญ่เท่าไหร่นัก จึงต้องมาพูดกันถึงเรื่อง “การพูดความจริง”  ผู้ใหญ่เองบางครั้งก็รู้สึกว่าการพูดความจริงก็ไม่ง่ายเอาเสียเลย เพราะกลัวสิ่งที่จะตามมาเมื่อผู้ฟังหรือผู้รับสารได้รับรู้เรื่องที่เราพูด เรากลัวผู้ที่ฟังหงุดหงิด กังวลว่าฟังแล้วจะไม่พอใจ ไม่สบายใจ กลัวผู้ฟังบางคนจะรับไม่ได้ กลัวการขัดแย้ง หรือแม้กลัวว่าจะถูกดุด่าว่าร้าย รวมถึงการกลัวถูกลงโทษ จึงไม่น่าสงสัยว่าทำไม เด็กๆ ชอบพูดโกหก ไม่พูดความจริงในบางเรื่องบางเหตุการณ์

มีพ่อแม่จำนวนมากมักเดือดเนื้อร้อนใจ เมื่อครูที่โรงเรียนบอกว่า ลูกมีพฤติกรรมพูดโกหก ไม่ชอบพูดความจริงหรือไปที่ไหนใครๆ ก็หาว่าลูกเป็นเด็กเลี้ยงแกะ การพูดโกหกนี้หากเกิดขึ้นเป็นครั้งคราวอาจถือเป็นเรื่องเล็ก แต่ถ้าทำบ่อยๆ อาจบ่งบอกได้ว่าลูกกำลังมีปัญหา เช่น ปัญหาทางอารมณ์ และเมื่อเริ่มเป็นวัยรุ่นก็อาจมีพฤติกรรมที่ร่วมกับการโกหกอีกหลายอย่าง เช่น ลักขโมย หลอกลวง ทำลายของสาธารณะ ทำร้ายผู้อื่น กลายเป็นเด็กมีปัญหาหรือเด็กเกเร และอาจเติบโตขึ้นมาเป็นโจร ในที่สุด ดังที่เกิดขึ้นบ่อยๆ ในสังคม ซึ่งหากปล่อยทิ้งไว้เด็กกลุ่มนี้อาจก่อความเดือดร้อนและความเสียหายต่อสังคมอย่างมากมาย

เมื่อไรจึงจะเรียกว่า เด็กโกหก

แม้พฤติกรรมโกหกของเด็ก จะเป็นพฤติกรรมที่พ่อแม่รับไม่ได้ แต่ถ้าเจอลูกโกหก ควรพิจารณาก่อนว่า พฤติกรรมนั้นเป็นไปตามพัฒนาการของเด็กหรือเปล่า ถ้าพฤติกรรมนั้นเกิดในเด็กเล็กๆ ที่เพิ่งพูดได้ไม่นาน หรือเด็กอายุ 2-3 ขวบ ซึ่งเด็กอาจจะยังไม่เข้าใจหรือแยกแยะความจริงกับจินตนาการได้อย่างชัดเจน เด็กอาจจะพูดในสิ่งเด็กนึกขึ้นมาโดยไม่ได้ตรวจสอบกับโลกความเป็นจริง ก็ถือเป็นเรื่องปกติตามพัฒนาการ และควรหลีกเลี่ยงการใช้คำว่า “เด็กโกหก”

แต่ถ้าพฤติกรรมเหล่านั้น เกิดขึ้นในเด็กโตอายุประมาณ 7 ขวบขึ้นไป ซึ่งสามารถเข้าใจโลกแห่งความเป็นจริงได้ดีแล้ว ก็ถือว่าเป็นพฤติกรรมโกหก แต่ก็เป็นแค่พฤติกรรมหนึ่งที่เด็กแสดงออกมา ความเข้าใจว่าเพราะอะไรเด็กจึงไม่สื่อสารให้ตรงกับความจริงเป็นเรื่องจำเป็นมากกว่าจะตัดสินว่าเป็นเด็กดีหรือเด็กไม่ดี

ก่อนอื่นต้องพิจารณาช่วงอายุของเด็กก่อน รวมถึงอาจมีปัญหาทางจิตเวชอื่นๆ เช่น ซึมเศร้า วิตกกังวล สมาธิสั้น และอย่างที่กล่าวตั้งแต่ต้นว่าเด็กๆ กลัวที่จะได้รับการตอบสนองในแง่ลบทั้งกับตัวเองและคนอื่นๆ พูดความจริงแล้วอาจทำให้ตัวเอง หรือฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง หรือทั้ง 2 ฝ่าย ผิดหวัง เสียใจ ไม่พอใจ โกรธ หรือมีความรู้สึกในแง่ลบ จึงเลือกที่จะพูดแล้วทำให้คุณพ่อคุณแม่ หรือคนอื่นๆ สบายใจ ไม่โกรธ ไม่ดุด่า

  • ในเด็กช่วงอายุ 2-6 ปี อาจพูดไม่จริงได้เนื่องจากความคิดยังพัฒนาไม่สมบูรณ์ เด็กยังไม่สามารถแยกแยะว่าอะไรจริง อะไรคือจินตนาการ เด็กอาจบอกว่า “หนูเหาะได้” เพราะอยากเป็นอย่างนั้น เด็กที่ถูกแกล้งบ่อยๆ จนเกิดความกลัวและอยากเอาชนะความกลัว ก็อาจเล่าให้แม่ฟังว่า ”วันนี้เพื่อนมาแกล้งผม ผมเลยชกจนหงายหลัง วิ่งหนีไปเลย” ในเด็กบางคนอาจโกหกเพื่อทดสอบว่าพ่อแม่รู้หรือไม่ว่าเขาพูดไม่จริง เพราะเด็กมักมองว่าพ่อแม่รู้ทุกอย่างแต่บางครั้งก็ไม่แน่ใจ ดังนั้นหากลูกในวัยนี้พูดสิ่งที่เกินความจริงไปบ้าง พ่อแม่ไม่ควรตำหนิหรือกังวลมากเกินไปเพราะเป็นธรรมชาติของเด็กวัยนี้ สิ่งที่ควรทำคือรับฟังลูกและแก้ไขความเข้าใจที่ถูกต้องให้แก่ลูกต่อไป
  • ในเด็กอายุ 6 ปีขึ้นไป เด็กสามารถแยกแยะความจริงได้แล้ว หากเด็กพูดโกหกอาจมีสาเหตุ ดังนี้
    1. เพื่อหลีกหนีจากสิ่งที่ไม่ต้องการ กลัวถูกทำโทษเมื่อทำผิดเช่น ลูกขโมยเงินพ่อแม่เพื่อเอาไปซื้อของเล่นยอดฮิตเหมือนเพื่อนๆ ที่โรงเรียนแต่กลัวพ่อแม่จับได้เลยต้องโกหก สำหรับวัยรุ่นปัญหาที่มักเจอส่วนใหญ่ก็คือการคบเพื่อน การมีกลุ่มเพื่อนที่อาจชักจูงกันไปทำกิจกรรมที่ไม่ค่อยถูกต้องหรือถูกใจผู้ปกครองมากนัก ก็พยายามหาวิธีการหลบหลีกด้วยการโกหก บ่อยครั้งที่ผู้ปกครองเองก็จับไม่ได้ และบ่อยครั้งที่ผู้ปกครองเองก็จับได้ด้วย ดังนั้นสิ่งที่ตามมาก็คือถูกตำหนิดุด่าจนในที่สุดพฤติกรรมเหล่านั้นแทนที่จะหายไป กลับยิ่งถูกส่งเสริมให้รุนแรงมากขึ้นเรื่อยๆ เพราะการยิ่งตำหนิยิ่งทำให้สถานการณ์ของปัญหาการโกหกยิ่งแย่ลง เพราะวัยรุ่นจะยิ่งห่างจากครอบครัวมากขึ้น
    2. เพื่อให้ได้รับสิ่งที่ต้องการ เช่น เด็กที่รู้สึกเบื่อเหงา อาจสร้างเรื่องที่น่าตื่นเต้นมาเล่าให้พ่อแม่ฟัง พ่อแม่จะได้สนใจตนมากขึ้น หรือเด็กที่รู้สึกตนเองไม่เก่งไม่ดีก็อาจเล่าเรื่องโกหกให้ตัวเองดูดี เพราะอยากให้พ่อแม่ชื่นชม
    3. เด็กมีความผิดปกติทางด้านจิตเวช เช่น เด็กที่มีปัญหาเรื่องสติปัญญาบกพร่อง มีปัญหาด้านภาษา เด็กที่ป่วยเป็นโรคจิต บางครั้งก็ดูเหมือนว่าจะพูดเรื่องที่ไม่จริงตามความคิดที่เกิดขึ้นในโลกส่วนตัวของเด็กอยู่ หรือเด็กที่มีปัญหาทางอารมณ์เช่น โรคซึมเศร้า อาจไม่ได้แสดงออกทางอารมณ์ แต่มาแสดงออกทางพฤติกรรมเช่น พูดโกหก หนีเรียน ลักขโมย เป็นต้น ก็สามารถพบเห็นได้บ่อยทั้งที่บ้านและโรงเรียน

ทำไมเด็กจึงโกหก

  1. เด็กบางคนโกหกเพื่อเอาตัวรอด หรือเพื่อหลบเลี่ยงการถูกลงโทษเมื่อตนเองทำอะไรผิดพลาด เช่น ไม่ได้ทำการบ้าน หรือทำของเสียหาย
  2. เด็กบางคนต้องการได้รับความสนใจจากพ่อแม่ หรือคนอื่นๆ ก็อาจเป็นอีกสาเหตุหนึ่งที่ทำให้เด็กสร้างเรื่องเล่าให้เหนือคนอื่น ทั้งที่จริงๆ แล้วไม่ได้เป็นเช่นนั้น
  3. เด็กบางคนโกหกเพื่อหวังผลประโยชน์อะไรบางอย่าง หรือเพื่อกลั่นแกล้งผู้อื่น ซึ่งถือว่ามีความรุนแรงกว่ากรณีอื่นๆ พ่อแม่จะต้องประเมินว่าเด็กมีพฤติกรรมเกเรอื่นๆ ร่วมด้วยหรือไม่ เช่น การลักขโมย พฤติกรรมก้าวร้าว ทำร้ายผู้อื่น หรือละเมิดกฎเกณฑ์ของสังคมในรูปแบบอื่นๆ ซึ่งบ่งชี้ว่าเด็กอาจมีโรคทางจิตเวชอย่างอื่นร่วมด้วย

เด็กโกหกจัดว่าป่วยทางจิตหรือไม่

คนเราคงเคยพูดโกหกบ้างบางครั้งตอนเด็กๆ แต่เด็กที่โกหกบ่อยๆ มักบ่งชี้ถึงปัญหาทางสุขภาพจิตบางอย่าง ซึ่งอาจยังไม่ถึงขั้นป่วยเป็นโรคใดๆ แต่เราอาจพบโรคทางจิตเวชบางโรคในเด็กกลุ่มนี้คือ

  1. โรคสมาธิสั้น เด็กสมาธิสั้นอาจจะเรียนได้ไม่ดี ไม่ได้ทำการบ้านส่ง เด็กจึงอาจจะโกหกเพื่อให้พ้นความผิด
  2. โรคพฤติกรรมผิดปกติ (conduct disorder) เด็กอาจจะมีพฤติกรรมลักขโมย ก้าวร้าว เช่น รังแกสัตว์ ชอบเล่นไฟหรือเล่นอะไรรุนแรงทำร้ายผู้อื่น หนีโรงเรียน หนีออกจากบ้าน ร่วมกับมีพฤติกรรมโกหกหลอกลวง

เด็กโกหก

ข้อแนะนำสำหรับพ่อแม่ผู้ปกครองในการช่วยลูกไม่ให้เป็น เด็กโกหก 

  1. ควรสร้างความสัมพันธ์ที่ดีกับลูกอยู่เสมอเพื่อให้ลูกมั่นใจในความรักและความหวังดีของพ่อแม่ เพื่อเวลาที่ลูกทำผิด หรือ ทำสิ่งไม่ดีลงไป ลูกจะได้กล้าปรึกษาพ่อแม่ ช่วยไม่ให้ลูกตัดสินใจผิดพลาดจนเกิดผลเสียร้ายแรงตามมา
  2. ไม่ควรมีอารมณ์โมโหหรือ ตำหนิตัวตนของลูกเมื่อลูกทำความผิด แต่ควรจัดการเฉพาะพฤติกรรมที่ผิดเท่านั้น ควรใช้เหตุผลพูดคุยกัน เพื่อลูกจะกล้ายอมรับความจริงในสิ่งที่ตนทำ ควรชื่นชมที่ลูกกล้าสารภาพผิดและแนะนำว่าเขาควรทำอย่างไรต่อไป เพราะการที่ลูกถูกตำหนิและตราหน้าอยู่เรื่อยๆ ว่าเป็นเด็กไม่ดี จะทำลายความรู้สึกดีที่ลูกมีต่อตนเอง ยิ่งทำให้ลูกมีพฤติกรรมชอบโกหก และบางครั้งพฤติกรรมเหล่านี้ก็อาจรุนแรงมากขึ้นอีก
  3. ควรมีความไว้วางใจ ไม่จับผิดหรือระแวงลูกมากจนเกินไปเพราะจะทำให้ลูกรู้สึกเหมือนเป็นนักโทษ เช่น บางครั้งลูกกลับบ้านดึก แม่ก็คอยซักถาม จับผิดว่าลูกไปไหน ไปทำอะไร ซึ่งบางทีลูกอาจแค่ไปร้องคาราโอเกะกับเพื่อน แต่การที่พ่อแม่ซักถามเหมือนไม่ไว้ใจลูกและไต่สวนเหมือนเป็นผู้กระทำความผิด เด็กก็อาจใช้วิธีการโกหก เพื่อให้พ่อแม่หยุดซักถามหรือหลบหลีกด้วยการโกหก
  4. ควรหลีกเลี่ยงการลงโทษที่รุนแรงเมื่อลูกทำผิดหรือจับโกหกได้เพราะการลงโทษเป็นเพียงการแก้ไขที่ปลายเหตุ ยังมีทางออกที่ดีกว่าวิธีการลงโทษคือ การพูดจาเพื่อทำความเข้าใจถึงเหตุผลบางประการของลูกซึ่งพ่อแม่ต้องมีอารมณ์ที่สงบเพื่อจะรับฟังลูกอย่างจริงใจ
  5. เป็นแบบอย่างที่ดีไม่พูดโกหกให้ลูกเห็นเพราะลูกอาจเลียนแบบจนติดเป็นนิสัย เข้าใจผิดว่าการโกหกเป็นเรื่องปกติที่สามารถทำได้
  6. พยายามสังเกตว่าลูกมีอาการป่วยทางจิตเวชหรือไม่เช่น โรคซึมเศร้า ความบกพร่องทางสติปัญญา หรือมีปัญหาเรื่องภาษาหรือไม่ เนื่องจากเด็กกลุ่มนี้อาจโกหกโดยไม่ได้ตั้งใจ แต่ทำไปเพราะพวกเขาป่วย หากสงสัยว่าลูกมีภาวะดังกล่าวควรพามาพบจิตแพทย์เพื่อทำการตรวจวินิจฉัยและรักษาอย่างเหมาะสม

พ่อแม่มีอิทธิพลต่อลูก และทำอย่างไรให้ลูกๆ กล้าที่จะพูดความจริง

พ่อแม่ควรรับฟังเรื่องราวของลูก เมื่อลูกมาเล่าว่าทำอะไรผิดมา อย่าไปตำหนิติเตียนทันที ในทางกลับกันให้รับฟังก่อน ให้ชื่นชมที่ลูกกล้าและยอมพูดความจริง  ลูกจะได้เรียนรู้ว่าเขาสามารถพูดความจริงได้ ไม่ต้องปิดบัง จนพฤติกรรมดีๆ นี้ก็จะกลายเป็นธรรมชาติและนิสัยที่ดีติดตัวไป และจะดียิ่งขึ้นเมื่อคุณได้ถามวิธีแก้ปัญหาครั้งนั้น โดยอาจช่วยลูกวางแผนร่วมกันว่าจะแก้ปัญหาอย่างไร หรือจะทำอย่างไรเพื่อไม่ให้เกิดเหตุการณ์แบบนั้นอีก

พ่อแม่ ปูย่า คุณครูที่โรงเรียนคงสอนเรื่องพวกนี้อยู่แล้ว ดังนั้นการบ่มเพาะสอนให้เด็กรู้จักคุณธรรมศีลธรรม การสอนหรือยกตัวอย่างสิ่งที่ดีและไม่ดี มีบาปบุญคุณโทษ ความซื่อสัตย์ เป็นสิ่งที่ดี แต่จะให้ดีขึ้นและเด็กจดจำไว้ประพฤติปฏิบัติให้คุ้นเคยด้วย คือควรให้เด็กได้เกิดการเรียนรู้จากสิ่งที่ทำ และเมื่อเขาโตขึ้นพฤติกรมมและนิสัยที่ดีจะติดตัวเขาไป รู้ว่าอะไรควรอะไรไม่ควร แต่อย่าลืมว่าพ่อแม่ผู้ปกครองมีผลกับเด็ก เราจึงมีส่วนให้เกิดนิสัยที่ซื่อสัตย์ต่อความจริงด้วย ในขณะเดียวกันผู้ปกครองควรสื่อสารให้เด็กรับรู้ว่าการโกหกเป็นเรื่องที่ยอมรับไม่ได้ แต่ไม่ต้องตำหนิหรือลงโทษรุนแรงจนลูกรู้สึกกลัวที่จะพูดความจริง

วิธีปราบลูกชอบโกหก

  1. พ่อแม่ต้องเปลี่ยนวิธีการพูด ทำให้ลูกไว้ใจเช่น เมื่อลูกทำจานระบายสีหกเลอะเทอะ พ่อแม่อาจพูดกับลูกว่า “แม่เห็นลูกทำสีหก ลูกไปหาผ้ามาเช็ดพื้นหน่อย พื้นจะได้ไม่เลอะ เดี๋ยวลูกลื่นสีหกล้มนะ” ดีกว่าที่จะต่อว่า “ลูกทำอะไรน่ะ” เพื่อไม่ให้ลูกปฏิเสธ
  2. อย่าตำหนิ ด่า ต่อว่ารุนแรง หรือลงโทษอย่างรุนแรงเมื่อลูกทำผิดให้คุยกันด้วยเหตุผลอย่างที่กล่าวตั้งแต่ต้น เพราะจะได้ไม่ทำให้เด็กปิดบังความผิด เพราะบางครั้งเด็กอาจจะกลัวที่จะถูกลงโทษ สร้างพฤติกรรมโกหกให้ตัวเอง จะทำให้เด็กกลายเป็นคนชอบโกหกมากขึ้น
  3. ห้ามใจอ่อน อย่าโอ๋หรือเข้าข้างลูกเมื่อลูกผิดหรือลูกโกหกแต่ให้ยกตัวอย่างให้ลูกฟังว่าคนทำดีได้อะไร ให้ลูกมองเห็นผลลัพธ์ของทั้งความดีและไม่ดี คนทำไม่ดีจะไม่มีคนรักและไม่มีใครอยากยุ่งด้วย
  4. ฝึกความรับผิดชอบง่ายที่สุด คือ การตรวจเช็คการบ้าน หรืองานของโรงเรียน อาจถามคุณครูว่าลูกมีงานอะไรบ้าง พอกลับถึงบ้านก็ให้ลูกทำให้เสร็จก่อน จากนั้นค่อยให้รางวัลโดยอนุญาตให้ลูกได้ทำกิจกรรมที่ต้องการ เมื่อลูกได้ทำอย่างที่ต้องการก็จะรู้สึกสบายใจ ถือว่าปลูกฝังความรับผิดชอบไปในตัว และลูกก็ไม่จำเป็นต้องโกหกพ่อแม่ หรือห่วงหน้าพะวงหลัง จะได้ทำกิจกรรมอย่างที่ต้องการแบบสบายใจ ไม่ต้องกังวล
  5. ให้รางวัล พูดชมเชย ให้แรงเสริมเวลาที่ลูกพูดตรงกับความจริงชมเชยในคุณสมบัติของความซื่อสัตย์ เช่น แม่ชอบที่ลูกพูดความจริง ชอบที่ลูกเป็นคนซื่อสัตย์ ให้ลูกรู้ว่าความซื่อสัตย์เป็นเรื่องสำคัญมาก ลูกจะได้รับการยกย่อง และมีแต่สิ่งดีๆ เข้ามา และอาจขยายผลลัพธ์ของการโกหกให้ลูกฟังอีกว่าการโกหกจะทำลายความเชื่อมั่น ต้องใช้เวลาอีกนานกว่าที่ใครจะมาเข้าใจเราอีก จะทำให้ลูกอยากเป็นคนชื่อสัตย์และพูดความจรัง
  6. ข้อนี้ถือว่าสำคัญที่สุด คือ พ่อแม่ต้องเป็นตัวอย่างที่ดีไม่โกหกใครให้ลูกเห็น เพราะอาจจะทำลูกเลียนแบบจนเป็นนิสัย

บทสรุปท้ายนี้ พ่อแม่อาจต้องสังเกตว่าลูกมีอาการป่วยทางจิตร่วมด้วยหรือไม่ ซึมเศร้าหรือไม่ มีความบกพร่องของสติปัญญาหรือเปล่า หรือมีปัญหาเรื่องภาษา  เนื่องจากเด็กกลุ่มนี้อาจจะพูดโกหกออกมาโดยไม่ได้ตั้งใจ ที่พูดออกมาเพราะสาเหตุจากการป่วย ซึ่งหากสังเกตว่าลูกโกหกบ่อย หรือมีภาวะไม่ปกติที่กล่าวมา ควรพามาพบกุมารแพทย์ด้านพัฒนาการและพฤติกรรมเพื่อวางแผนดูแลต่อไป

ที่มา

https://www.manarom.com/blog/Conduct_Disorder.html

https://www.samitivejhospitals.com/th/

http://www.cumentalhealth.com/

https://www.istockphoto.com/th/1219568084-356785102

https://www.istockphoto.com/th/1295386242-389136532

 

ติดตามอ่านเรื่องเกี่ยวกับเด็กได้ที่  ufabet1995.info